แอนิเมชันเป็นศาสตร์แห่งศิลปะที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ขึ้นซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานมา
นับพันปีแล้ว และยังคงมีพัฒนาการสร้างศิลปะแอนิเมชันมาอย่างต่อเนื่องจน
ปัจจุบัน
แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่ง
หลายๆ ภาพด้วยความเร็วสูง คำว่า Animation สะกดเป็นภาษาไทยคือ แอนิเมชัน (ตาม
หลักการใช้คำทับศัพท์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ไม่ใช้วรรณยุกต์ใน
การสะกด) แอนิเมชันเป็นกระบวนการสร้างภาพนิ่งให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมี
ชีวิตชีวาซึ่งสามารถทำได้หลายเทคนิคไม่จำกัดว่าต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เสมอไป ซึ่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพแอนิเมชันส่วนใหญ่ ได้จำแนกเทคนิคการทำงานของแอนิเมชัน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
คือ
1. แอนิเมชันแบบดั้งเดิม (Traditional Animation) เป็นกระบวนการสร้างสรรค์
แอนิเมชันในยุคเริ่มแรกโดยที่ไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การวาดเส้น
(Drawing) การระบายสีจริงบนกระดาษ (Painting) แอนิเมชันแบบเซลลูลอยด์ หรือแผ่น
ใส (Cels Animation) การปั้นดินน้ำมัน (Clay Animation) การตัดกระดาษ (Paper CutJoint
Cut)
ฯลฯ
ผลงานแอนิเมชัน เทคนิคการปั้นดินน้ำมัน ของ Wallace&Gromit จากภาพยนตร์แอนิเมชัน
เรื่อง The Curse of the Were-Rabbit ใช้วิธีการนำดินน้ำมันมาปั้นให้เป็นตัวละคร โดยมีโครงลวดอยู่ด้านในเป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการขยับหุ่นหรือเปลี่ยนย้ายตำแหน่งของตัวละคร และใช้กล้องถ่ายแบบทีละภาพ จัดเป็นส่วนหนึ่งของงานแบบ
Stop Motion
ผลงานแอนิเมชัน เทคนิคการใช้ทราย(Sand Animation) เป็นอีกเทคนิคของภาพยนตร์
แบบ Stop Motion ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในยุโรป โดยใช้ทรายเป็นสื่อในการถ่ายทอด โดยกวาดทรายให้เป็นรูปร่างตามจินตนาการ และค่อยๆ
กวาดเม็ดทรายให้มีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และใช้กล้องถ่ายทีละภาพ
แอนิเมชัน เทคนิค StopMotion โดยใช้คนแสดง เป็นวิธีการถ่ายภาพให้ตัวนักแสดงจัดท่าโพสต์ก่อน จึงใช้กล้องบันทึกภาพไปทีละภาพ
ซึ่งนักแสดงจะค่อยๆ ขยับร่างกายทีละส่วน เมื่อนำภาพนิ่ง ที่ถ่ายเป็นภาพต่อเนื่อง นำมาจัดลำดับเรียงกันและไปตัดต่อสามารถสร้างเป็นงานแอนิเมชันได้
2. ดิจิทัลแอนิเมชัน, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (Digital Animation, Computer Animation) เป็นกระบวนการผลิตงานภาพเคลื่อนไหวด้วยระบบดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน ตั้งแต่การวาด, การระบายสี, การปั้นโมเดล, การแอนิเมทสร้างภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนการตัดต่อออกมาเป็นไฟล์ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ โดยมีทั้งแอนิเมชันแบบ 2-3 มิติ
ปัจจุบันงานแอนิเมชันที่มีการผลิตร่วมกับงานวิชวลเอฟเฟคจำนวนมาก จนแทบจะแยกไม่ออก งานวิชวลเอฟเฟค คืองานสร้างภาพยนตร์ด้วยเทคนิคพิเศษให้มีความสมจริงมากที่สุด ที่พบเห็นได้ชัดเจน เช่น การใช้ภาพ 3D ตัดต่อผสมผสานกับภาพถ่ายจริง หรือเป็นภาพจำลองที่สร้างขึ้นจนเสมือนจริงทั้งหมด
งานแอนิเมชันที่ใช้การแคปเจอร์ภาพจากนักแสดงโดยผ่านจุดเซ็นเซอร์ที่ติดตามร่างกายของนักแสดง
เรียกว่า โมชันแคปเจอร์ (Motion Capture) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับงานแอนิเมชันที่ต้องการความรวดเร็วและมีความสมจริง เช่น การสร้างแอนิเมชันในเกมคอมพิวเตอร์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น